ปลาสลิด - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

ปลาสลิด

บทความ > ปลาที่เลี้ยงง่าย > ปลาสลิด
ปลาสลิด
ปลาสลิดเป็นปลาน้ำจืดพื้นบ้านของไทย มีแหล่งกำเนิดในที่ ลุ่มภาคกลางของไทย มีชื่อวิทยาศาตร์ว่า Trichogaster pectoralis ตามธรรมชาติปลาสลิดชอบอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีน้ำนิ่งและมีพันธุ์ไม้น้ำ ชอบกินตัวอ่อนของแพลงก์ตอนสัตว์ที่เกาะติดพันธุ์ไม้น้ำหรือหญ้าที่เน่าเปื่อย

ปลาสลิดเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว ไข่ตก ออกลูก ได้รวดเร็ว อายุเพียง 6-7 เดือนก็สามารถผสมพันธุ์วางไข่ได้ และผู้เลี้ยงยังสามารถเพาะขยายพันธุ์ด้วยตนเองได้ มีความอดทนต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติได้ดี และไม่ค่อยมีโรค พยาธิมาเบียดเบียน
ปลาสลิดเป็นปลาที่จำหน่ายได้ราคาดี นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายทั้งปลาสลิดสดและแห้ง โดยเฉพาะปลาสลิดเค็มตากแห้งมีรสชาติ อร่อยมาก เป็นที่ชื่นชอบของผู้ได้ลิ้มรส ตลาดต้องการมาก และมีราคาค่อนข้างสูง ปัจจุบันจึงนิยมเพาะเลี้ยงปลาสลิดกันมากทั้งในบ่อและในนาข้าวที่ดัดแปลงสภาพมาเป็นนาเลี้ยงปลา

การแยกเพศปลาสลิด
ปลาสลิดเป็นปลาที่มีความแตกต่างระหว่างเพศผู้กับเพศเมียอย่างเด่นชัด โดยสังเกตจากลักษณะภายนอกได้ชัดเจนดังนี้

ปลาสลิดเพศผู้ ลำตัวเรียวยาว สันหลังและสันท้องเกือบเป็นเส้นตรงขนานกัน ครีบหลังมีปลายแหลมและยาวจรดหรือเลยโคนหาง ลำตัวมีสีและลวดลายเข้มและสีสวยกว่าเพศเมีย และปลาสลิดเพศผู้มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปลาเพศเมีย

ปลาสลิดเพศเมีย ลำตัวสั้นป้อม มีสันท้องยาวมนและไม่ขนานกับสันหลัง ส่วนครีบหลังมีลักษณะปลายมนยาวไม่จรดถึงโคนหาง ลำตัวมีสีจางกว่าและมีน้ำหนักมากกว่าเพศผู้ ในฤดูวางไข่ปลาสลิดเพศเมียท้องจะอูมเป่งออกมาทั้งสองข้างอย่างเห็นได้ชัดและมีสีอ่อน

การเพาะพันธุ์โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ
เป็นการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ให้ผสมพันธุ์วางไข่กันเองตามธรรมชาติ เป็นวิธีที่นิยมโดยทั่วไป เพราะสามารถทำได้ง่าย ประกอบ กับปลาสลิดเป็นปลาที่สามารถแพร่พันธุ์วางไข่ได้เองตามธรรมชาติ และออกลูกได้ครั้งละจำนวนมากๆ

การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
ปลาสลิดที่จะนำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ควรเลือกตัวที่มีขนาดใหญ่ อวัยวะดีครบถ้วน แข็งแรง สมบูรณ์ ไม่มีแผล ครีบและหางไม่แตก ไม่มีโรคพยาธิ มีอายุตั้งแต่ 7 เดือนขึ้นไป ขนาดลำตัวยาว 10-20 เซนติเมตร ควรเลือกปลาขนาดกลางที่มีน้ำหนัก 10-12 ตัวต่อกิโลกรัมดีที่สุด สำหรับอัตราส่วนพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่จะปล่อยลงในบ่อเพาะพันธุ์ควรใช้อัตราส่วน 1 ต่อ 1

การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์
อาหารที่นิยมใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ส่วนใหญ่เป็นอาหารเปียก ซึ่งประกอบด้วยรำข้าว ปลายข้าว และผักสับละเอียด ต้มแล้วเป็นเป็นก้อน ใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ก่อนถึงฤดูผสมพันธุ์อย่างน้อย 1 เดือน และอาจเสริมด้วยแทนสดและปลวกบ้างหรืออาจให้อาหารเม็ด ซึ่งมีส่วนประกอบและอัตราส่วนดังนี้

ส่วนผสม
เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก
ปลาป่น
56
แป้งหรือปลายข้าวต้ม
14
รำละเอียด
12
กากถั่ว
12
น้ำมันปลาสลิด
4
วิตามิน+แร่ธาตุ
2
รวม
100


การให้อาหารพ่อแม่พันธุ์จะให้ทุกวัน วันละ 1–2 ครั้ง ในอัตราประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ เช้าและเย็น โดยทำการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์เป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือนก่อน นำไปเพาะพันธุ์

การเตรียมบ่อเพาะพันธุ์
บ่อเพาะพันธุ์ส่วนใหญ่นิยมใช้บ่อเดียวกันกับที่ใช้เลี้ยง การเตรียมบ่อควรล้างและตากบ่อให้แห้งสัก 7 วันก่อน แล้วกำจัดศัตรูและฆ่าเชื้อโรคด้วยโล่ติ๊นและปูนขาว จากนั้นจึงระบายน้ำเข้าบ่อให้ระดับน้ำสูง 20-30 เซนติเมตร สาดปุ๋ยคอกที่ตากจนแห้งแล้ว บนบริเวณชานบ่อ ในอัตราปุ๋ย 10 กิโลกรัมต่อเนื้อที่ 160 ตารางเมตร จะทำให้เกิดไรน้ำและช่วยทำให้ผักหญ้าบนชานบ่อเจริญงอกงามดี ปล่อยให้ผักหญ้าพันธุ์ไม้น้ำขึ้นรกในบริเวณชานบ่อ พันธุ์ไม้น้ำที่นิยมใช้ได้แก่ ผักบุ้ง แพงพวย ผักกระเฉด เป็นต้น

สำหรับอัตราการปล่อยปลาพ่อแม่พันธุ์ในบ่อเพาะพันธุ์ ในพื้นที่ 1 ไร่ ควรปล่อยพ่อแม่พันธุ์ 200 คู่ แต่ถ้าพื้นที่ 2 ไร่ ควรปล่อยพ่อแม่พันธุ์ 320 คู่

No comments
Back to content