สถานที่และคุรภาพดิน - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

สถานที่และคุรภาพดิน

บทความ > การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย > การเลือกสถานที่สร้างบ่อเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย
การเลือกสถานที่สร้างบ่อเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย

การเลือกสถานที่หรือทำเลสร้างบ่อนั้นนับเป็นสิ่งสำคัญ ประการแรกที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบ และให้สอดคล้องกับ สภาพภูมิประเทศ โดยตัดสินใจให้ถูกต้องถึงจุดมุ่งหมายที่จะขุดบ่อเลี้ยงปลาว่าเลี้ยงเพื่อเป็นการค้า เพื่อเป็นอาหารในครัวเรือน หรือเพื่องานอดิเรก

การเลือกสถานที่สร้างบ่อได้เหมาะสมจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้การเลี้ยงปลาประสบความสำเร็จสูงขึ้น และยังเป็นการประหยัด ค่าใช้จ่ายต่างๆ ลงได้มาก แต่ถ้าหากเลือกสถานที่สร้างบ่อเลี้ยงปลาไม่เหมาะสมแล้วก็จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย และอาจทำให้การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในครั้งนั้นไม่ประสบความสำเร็จได้ ดังนั้นจึงควรเลือกสถานที่สร้างบ่อเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยให้เหมาะสม โดยพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. สถานที่ ลักษณะภูมิประเทศของบริเวณที่ใช้สร้าง บ่อเลี้ยงปลาดุกควรเป็นพื้นที่ราบและมีความลาดเอียงเล็กน้อย เพราะเมื่อสร้างบ่อแล้วสามารถสูบน้ำเข้าบ่อและระบายน้ำทิ้งได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องสูบน้ำ ซึ่งพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสำหรับการสร้างบ่อเลี้ยงปลาดุกที่มากที่สุด คือ พื้นที่ที่มีความลาดเอียดระหว่าง0.5-1 เปอร์เซ็นต์ หากสภาพพื้นที่มีความลาดเอียงมากว่านี้จะทำให้ต้นทุนการสร้างคันบ่อเพิ่มขึ้น

พื้นที่สำหรับสร้างบ่อเลี้ยงปลาไม่ควรมีก้อนหินหรือต้นไม้ ใหญ่ เพราะจะทำให้การขุดบ่อทำได้ลำบากขึ้นและรั่วซึมได้ง่าย ไม่ควรเป็นพื้นที่ดอนมากเกินไปหรือเป็นพื้นที่ลุ่มจนมีปัญหาน้ำท่วม ทำให้ยากต่อการป้องกันการหนีของปลา หากเป็นที่ดอนหรือเป็นโขดเนินทำให้ต้องใช้แรงงานในการขุดดินหรือต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ในการยกคันบ่อสูง และยังเป็นปัญหาในการกักน้ำให้มีปริมาณตามต้องการอีกด้วย

2. ลักษณะและคุณภาพของดิน สถานที่สร้างบ่อเลี้ยงปลา ลักษณะของดินควรเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทราย เพราะสามารถกักเก็บน้ำได้ดี น้ำมีโอกาสรั่วซึมได้น้อย การทรุดตัวของคันบ่อมีน้อยไม่พังทลายได้ง่าย การดูแลรักษาคันบ่อทำได้ง่าย ต้นทุนการก่อสร้างบ่อจะต่ำกว่าดินชนิดอื่น อีกทั้งยังเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารต่างๆ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดอาหารธรรมชาติในบ่อเลี้ยงปลาได้ดีอีกด้วย เช่น แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ ไรแดง สัตว์หน้าดิน เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งดิน ที่ใช้ทำเป็นคันบ่อซึ่งต้องอาศัยความแข็งแรงคงทนอยู่มาก ถ้าเป็นดินเหนียวปนทรายก็พอจะกักเก็บน้ำได้แต่อาจรั่วซึมออกได้บ้าง ดังนั้นดินเหนียวจึงเป็นดินที่เหมาะสมที่สุด เพราะดินเหนียวเป็นดินเนื้อละเอียด จับกันเป็นก้อนที่แข็งแกร่งเมื่อแห้งและเหนียวเหนอะหนะเมื่อเปียก จึงทำให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ดี และมีอัตราการรั่วซึมต่ำมาก

สำหรับระดับความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ของดินที่เหมาะสม นั้นคือ pH มีค่าเท่ากับ 7 จะเหมาะสมที่สุด แต่ดินที่ใช้เลี้ยงปลาได้ดีนั้นจะมีค่า pH อยู่ระหว่าง 6.5-8.5 หากดินเป็นกรดจะทำให้น้ำที่กักขังอยู่ในบ่อมีสภาพเป็นกรดไปด้วย ซึ่งน้ำที่มีสภาพเป็นกรดจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การเลี้ยงปลาได้ผลผลิตต่ำ เพราะปลาจะเจริญเติบโตช้าหรือไม่เจริญเติบโตในน้ำที่มีคุณสมบัติเป็นกรด แต่อย่างไรก็ตามความเป็นกรดของดินสามารถแก้ไขได้โดยการใส่ปูนขาว ปูนเผา หรือหินปูน


No comments
Back to content