คุณสมบัติของน้ำที่เหมาะสมใช้เลี้ยงปลาดุก - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

คุณสมบัติของน้ำที่เหมาะสมใช้เลี้ยงปลาดุก

บทความ > การเพาะและการเลี้ยงปลาดุก > คุณสมบัติของน้ำที่เหมาะสมใช้เลี้ยงปลาดุก
คุณสมบัติของน้ำที่เหมาะสมใช้เลี้ยงปลาดุก
คุณสมบัติของน้ำที่จะนำมาใช้ในการเลี้ยงปลานับว่ามีความสำคัญมาก เพราะน้ำเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิตของปลา หากปลาได้อาศัยอยู่ในน้ำที่มีคุณสมบัติดีมีความเหมาะสม ก็จะทำให้ปลาดำรงชีวิตได้เป็นปกติ การเจริญเติบโตดี มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคและปรสิต ดังนั้นการเลี้ยงปลาเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงนั้นควรคำนึงถึงการจัดการให้น้ำใน
บ่อมีคุณสมบัติที่ดีและมีความเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของปลาเป็นสำคัญ สำหรับคุณสมบัติของน้ำที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงปลาดุกสามารถแยกเป็นหัวข้อได้ดังนี้

1. อุณหภูมิ อุณหภูมิของน้ำจะมีผลต่อขบวนการต่างๆภายในร่างกายของปลาเป็นอย่างมาก เช่น การกินอาหาร การย่อยอาหาร การเคลื่อนไหว การหายใจ การสืบพันธุ์ และการเจริญเติบโต นอกจากนี้ยังมีผลต่อปฏิกิริยาย่อยสลายอินทรีย์สารของแบคทีเรียในน้ำด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้จะมีผลโดยตรงต่อปริมาณและคุณภาพผลผลิตทั้งสิ้น

ระดับและการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกันไป ปลาที่เลี้ยงในภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออก จะมีปัญหาเนื่องมาจากอุณหภูมิน้อยกว่าการเลี้ยงในภาคเหนือและภาคอีสาน ทั้งนี้เนื่องมาจากในภาคเหนือและภาคอีสานในช่วงฤดูหนาวอุณหภูมิของน้ำส่วนใหญ่จะลดต่ำกว่า 18 องศาเซลเซียส ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างมากในเรื่องการกินอาหารของปลาดุก โดยปกติปลาดุกจะกินอาหารดีเมื่อน้ำมีอุณหภูมิประมาณ 24 องศาเซลเซียส และอาจจะหยุดกินอาหารหรือกินน้อยมากเมื่ออุณหภูมิลดลงเหลือ 15 องศาเซลเซียส และปลาดุกอาจจะตายได้ เมื่อระดับอุณหภูมิของน้ำต่ำกว่า 12 องศาเซลเซียส

นอกจากนี้การเพิ่มหรือลดของอุณหภูมิอย่างกะทันหันจะมีผลกระทบต่อปลามาก จึงไม่ควรให้อุณหภูมิของน้ำลดอย่างกะทันหันเกิน 2 องศา เซลเซียส เพราะอาจทำให้ปลาช็อคและตายได้ ซึ่งในเรื่องนี้มีความสำคัญมากในช่วงที่ปล่อยลูกปลาลงเลี้ยง เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรนำปลาจากที่หนึ่งไปปล่อยอีกแห่งหนึ่งที่มีอุณหภูมิแตกต่างกันมาก โดยเฉพาะเมื่อนำปลาจากน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำไปปล่อยในน้ำที่มีอุณหภูมิสูงกว่า

2. ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) บ่อปลาที่สร้างขึ้นในบริเวณที่เป็นดินเปรี้ยวมักจะทำให้น้ำในบ่อเป็นกรด ในบ่อเลี้ยงปลาจะมีการเปลี่ยนแปลงของค่า pH ในรอบวันโดยแพลงศ์ตอนพืชและพืชน้ำใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์
เพื่อสังเคราะห์แสงในตอนกลางคืน ทำให้ค่า pH ของน้ำสูงขึ้น ส่วนในเวลากลางคืนมีการหายใจ พืชคายคาร์บอนไดออกไซต์จึงทำให้ค่า pH ลดลง น้ำที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงปลาไม่ควรมีการเปลี่ยนแปลงของ pH เกินกว่า 2 หน่วยในรอบวัน และน้ำที่มีค่า pH อยู่ระหว่าง 6.5-8.5 ก่อนพระอาทิตย์ขึ้นเป็นน้ำที่เหมาะแก่การเลี้ยงปลามากที่สุด ส่วนในช่วง pH 4-6 และ 9-11 ปลาจะเจริญเติบโตช้าและอ่อนแอ เพราะในน้ำที่เป็นด่างมากปลาจะตาย และถ้าเป็นกรดปลาจะไม่อยากกินอาหาร อัตราการเจริญเติบโตลดลง อ่อนแอ มีความต้านทานต่อโรคต่ำและเป็นโรคได้ง่าย

3. ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ปริมาณของออกซิเจนที่ละลาย ในน้ำมีความสำคัญมากที่สุดในการเลี้ยงปลา เนื่องจากปลาต้องใช้ออกซิเจนในการหายใจ โดยแหล่งของออกซิเจนในน้ำที่สำคัญได้มาจาก 2 ทางคือ จากบรรยากาศที่อยู่ผิวน้ำ และจากการสังเคราะห์แสงของพืช โดยเฉพาะแพลงค์ตอนพืชโดยขบวนการสังเคราะห์แสง ซึ่งเป็นแหล่งผลิตออกซิเจนที่ ละลายในน้ำให้แก่ปลาได้เป็นอย่างดี และเป็นการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ด้วยถ้าหากมีในปริมาณที่พอเหมาะ สำหรับปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำไม่ควรจะต่ำกว่า 3 ppm (วัดในตอนเช้ามืด) แต่ที่เหมาะสมควรจะมากกว่า 5 ppm จะทำให้ปลาเจริญเติบโตดี หากออกซิเจนในน้ำมีปริมาณน้อยเกินไป ปลาก็จะลอยหัวขึ้นมาใช้ออกซิเจนจากผิวน้ำและอากาศ ซึ่งจะส่งผลทำให้ปลาเกิดอาการเครียดและการเจริญเติบโตลดลง

ปัญหาการขาดออกซิเจนมักจะเกิดในบ่อที่มีสารอินทรีย์สะสมอยู่ในปริมาณมาก ซึ่งสารอินทรีย์เหล่านี้อาจมาจากเศษเหลือของอาหาร ของเสีย จากปลา ตะกอนสารอินทรีย์ที่ติดมากับน้ำและแพลงค์ตอนพืชที่ตายลง ซึ่งจุดวิกฤตในการเกิดปัญหาการขาดออกซิเจนมักจะเป็นในช่วงเช้ามืดที่ยังไม่มีการสังเคราะห์แสง

1 comment
Average Vote: 115.0/5

ืnithichot
2021-11-03 19:14:25
-
Back to content