ปลาสวยงามน้ำจืดที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อน/กลุ่มปลาหมอสี
บทความ > ปลาสวยงาม > ปลาสวยงามน้ำจืดที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อน
ปลาหมอสีสายพันธุ์ต่างๆ
9. ฟรอนโตซา
10. เซเวรุมทอง
11. เทกซัสแดง
12. เฟลาเวอร์ฮอร์น
13. ฟลามิงโก
14. เทกซัสแดง
15. เรดอเมริกา
1. หมอลายเมฆ(วีนัส)
2. อาปาเซ
3. ลิฟวิงสโตน
4. มาลาวีเผือก
5. มาลาวีเหลือง
6. ลูกผสม
7. อาร์เจนเทีย
8. ไตรทอง
3.กลุ่มปลาหมอสี (Cichlids)
ปลาหมอสีหรือชิคลิด เป็นกลุ่มปลาที่มีก้านครีบเป็นหนาม ส่วนมากมีลำตัวก่อนข้างกว้าง มีหัวและตาใหญ่มีริมฝีปากชัดเจน ตัวผู้มีสีสวยกว่าตัวเมียมีรูปร่างหลายแบบ ตั้งแต่เพรียวยาวจนถึงกลมแบบจาน โดยธรรมชาติปลากลุ่มนี้พบมากในอเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้ นอกจากนี้ยังพบใน รัฐเทกซัสของประเทศสหรัฐอเมริกา ใน ทะเลสาบสำคัญๆของทวีปแอฟริกา และเกาะมาดากัสการ์ รวมทั้งประเทศซีเรียทางภาคตะวันตกของทวีปเอเชีย ปลาในกลุ่มนี้ส่วน ใหญ่เป็นปลากินเนื้อ ยกเว้นปลาหมอแคระ ปลาเทวดา และปลาปอมปาดัวร์ เป็นปลา ที่มีสีสันสวยงาม หลายชนิดเป็นปลาที่สร้าง อาณาเขต และหวงอาณาเขต ส่วนมากชอบขุดดิน ปลาสวยงามที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ปลาหมอสี ปลาปอมปาดัวร์ ปลาออสการ์ และปลาเทวดา
ปลาหมอสีเป็นปลาที่ พบในเขตร้อนเกือบทั่วโลก โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกาที่ทะเลสาบมาลาวี ทะเลสาบแทงกันยีกา และทะเลสาบวิกตอเรีย รวมทั้ง ในเกาะมาดากัสการ์ นอกจากนี้ ยังพบมาก ในทวีปอเมริกาใต้ด้วย ส่วนในทวีปเอเชีย ก็มีอยู่บ้าง แต่ไม่มากนัก เป็นปลาที่มีสีสัน สวยงาม โดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่ม ที่อาศัยอยู่ตามโขดหิน กองหิน เกาะหิน โพรงหินในน้ำ และชายฝั่งที่เป็นหน้าผาหิน กลุ่มนี้เรียกในภาษาพื้นเมืองว่า “มบูนา" (Mbuna) และกลุ่มที่อาศัยอยู่ตามชายน้ำ ทราย หรือ ในแหล่งน้ำเปิด เรียกในภาษาพื้นเมืองว่า (Non-Mbuna) ทะเลสาบมาลาวี มีปลาหมอสีมากที่สุด ปลาหมอในกลุ่มมบูนา ชนิดที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ ปลาหมอกล้วยหอม ปลาหมอฮองกิ ปลาหมอแตงไทย ปลาหมอโยฮันนี และปลาหมอชิโพกิ ส่วนประเภทนอน-มบูนา มีการเพาะเลี้ยงหลายสายพันธุ์ในเมืองไทย ได้แก่ ปลาหมอลิฟวิงสโตน ปลาหมอเยลโลพีค็อก ปลาหมอลวานดา ปลาหมอบลูดอลฟิน ปลาหมอวีนัส ปลาหมอมาลาวีน้ำเงินคอแดง ปลาหมอกาดอนโก ปลาหมออิเล็กทริกบลู ปลาหมอปากยาว ปลาหมออะซูเรียส ปลาหมอสีจากทะเลสาบแทงกันอีกามีรูปร่างแปลกๆ และมีลักษณะที่หลากหลายมากว่า ปลาหมอจากทะเลสาบมาลาวีที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ ปลาหมอแซงแซว ปลาหมอฟรอนโตซา ปลาหมอคาลวัส ปลาหมอเวนทราล ปลาหมอเฟอร์ซิเฟอร์ และปลาหมอมัวริอาย ซึ่งปลาหมอสีจากเกาะมาดากัสการ์เป็นปลาที่หายาก ส่วนมาก มีขนาดใหญ่ ที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทยมีอยู่ 2 ชนิด คือ ปลาหมอโพลเลน ปลาหมอบรีเกอร์ หรือโพลเลนจุดใหญ่ ปลาหมอสีจากอเมริกากลาง และทวีปอเมริกาใต้ ส่วนใหญ่เป็นปลาขนาดใหญ่ เมื่อโตเต็มที่ หลายสายพันธุ์มีหัวโหนกมาก ทำให้ดูสวย แปลกตา สายพันธุ์ที่นำเข้ามาเพาะเลี้ยงใน ประเทศไทยที่เป็นที่นิยม คือ ปลาหมอเทกซัส ปลาหมอ ซัลวิน ปลาหมอไตรมาคูลาตัส ปลาหมอเรดเดวิล สำหรับปลาหมอแคระ จากทวีปอเมริกาใต้พบในแม่น้ำสาขาต่างๆของแม้น้ำอะเมซอน มีขนาดเล็ก และมีสีสันสวยงามมาก สามารถเลี้ยงรวมกับปลาเล็กที่ ไม่ใช่ปลาหมอได้ ชนิดที่นิยม ได้แก่ ปลาหมอแรม ปลาหมอแรมโบลิเวีย ปลาหมออองสโล และปลาหมอโบเรล ปลาหมอสี จากทวีปเอเชียพบทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย ชนิดที่สวยงามนำมาเลี้ยงเป็นปลา สวยงามได้คือ ปลาหมอโครไมเหลือง ปลาหมอซุราเทนซิส และปลาหมอบลูดอลฟินเหลือง นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ ปลาหมอสีลูกผสม เช่น ปลาหมอนกแก้ว ซึ่งเป็นปลาลูกผสมระหว่างปลาหมอฟลามิงโก กับปลาหมอซินสไปลัม ซึ่งปลาชนิดนี้เป็นหมัน และปลาเฟลาเวอร์ฮอร์น ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างปลาหมอไตรมาคูลาตัสกับปลาหมอสีอเมริกากลาง
ปลาหมอนกแก้ว
ปลาปอมปาดัวร์
ปลาปอมปาดัวร์(Discus)
ปอมปาดัวร์เป็นปลาที่มีรูปร่างกลมแบนเหมือนจาน ฐานของครีบหลังและครีบก้นยาวมาก ด้านหลังเกือบจรดครีบหาง มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่บริเวณลุ่มน้ำอเมซอนในทวีปอเมริกาใต้ ปลาปอมปาดัวร์สามารถเพาะเลี้ยงได้ง่ายและ ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ทำให้มีลวดลายและสีสันสวยงาม มีหลายสายพันธุ์พัฒนาขึ้นมาโดยคนไทย เช่น ปอมปาดัวร์ฝุ่น (Pigeon Blood Discus) มีสีสันต่างๆ เช่นสีเหลือง
สีแดง สีทอง สีเขียว สีฟ้า และสีมุก ปลาปอมปาดัวร์ได้นำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ตั้งแต่ พ.ศ. 2476 ปัจจุบันนักอนุกรมวิธาน บางกลุ่มถือว่า ปอมปาดัวร์ทั้งหมดมีเพียง ชนิดเดียว บางกลุ่มก็ถือว่ามี 2 ชนิด โดย แยกเป็น ปอมปาดัวร์สีน้ำตาล (Common brown discus) และ ปอมปาดัวร์สีแดง หรือ ปอมปาดัวร์เฮกเคล (Heckel or red discus)
สีของปลาปอมปาดัวร์ ทุกชนิดจะเปลี่ยนไป ตามสภาพแวดล้อม การเปลี่ยนค่าความ เป็นกรดด่างและความกระด้างของน้ำในตู้ สามารถเปลี่ยนสีของปลา จากสีน้ำตาลเป็นสีแดง และจากสีน้ำตาลเป้นสีเขียว อาหารก็มีอิทธิพลต่อสีของปลาปอมปาดัวร์ ดังนั้นการแยกประเภทของปลาปอมปาดัวร์ โดยใช้สีเป็นหลักจึงดูค่อนข้างยาก สีของปลาขนาดเล็กก็ไม่สามารถเป็นตัวชีถึงสีของ ปลาที่โตขึ้นไปอีกได้
ปอมปาดัวร์สีน้ำตาลมีแถบบนตัวใน แนวตั้ง มีหลายชนิดหลายประเภทที่ตั้งชื่อ ตามผู้ที่ค้นพบ หรือผู้พัฒนาสายพันธุ์ ปลาชนิดนี้ในธรรมชาติ พบบริเวณปากแม่น้ำอะเมซอน ลักษณะทั่วไปคือลำตัวมีสีน้ำตาล และมีแถบสีน้ำเงิน 9 แถบพาดขวางตลอดทั้ง ในส่วนหัว ส่วนหาง ครีบก้น และครีบหลัง ซึ่งมีขอบสีแดง ปอมปาดัวร์เฮกเกลมีลักษณะ ที่แตกต่างจากปอมปาดัวร์สีน้ำตาล และชนิดย่อยของปอมปาดัวร์สีน้ำตาลคือ มีเส้นสีน้ำเงิน และเส้นสีแดงในแนวขนาน โดยเป็นเส้นหยักที่ไม่มีรูปร่างแน่นอน เริ่มจากหลังแผ่นปิดเหงือกไปจนถึงครีบหาง ส่วนของแถบสีแนวตั้งที่มี 9 แถบนั้น มีให้เห็นเด่นชัดเพียง 3 แถบ อีก 6 แถบ เกือบจะมองไม่เห็นต่างจากชนิดแรกที่เห็นชัดเจน พาดผ่านตา 1 แถบ ผ่านกลางลำตัว 1 แถบ และผ่านครีบหาง 1 แถบ ชื่อเรียกทางการค้า ในทวีปอเมริกาใต้เรียกว่า "บลูดิสคัส” (Blue discus)ขณะที่ทางอังกฤษเรียกว่า “เรคเฮกเคลดิสคัส” (Red Heckel discus) ปลาชนิดนี้มีประเภทสีเขียวด้วยเหมือนกัน ซึ่งเกิดจากการที่มีเส้นสีตามแนวขนาน หรือมีสีอ่อนกว่าปกติ เนื่องจากปลาพันธุ์แท้ชนิดนี้วางไข่ ผสมพันธุ์ในตู้ยาก จึงมีการทำลูกผสมข้าม ชนิดออกมา
1.ปลาออสการ์ทองเผือก
2.ปลาออสการ์ทอง
ปลาออสการ์(Oscar) ถิ่นอาศัยแถบลุ่มแม่น้ำอะเมซอน ตั้งแตประเทศ เวเนซุเอลา กายอานา จนถึงปารากวัย กินปลาที่มีขนาดเล็กกว่าสัตว์น้ำประเภทกุ้งและปู ปลาออสการ์สามารถเพาะพันธุ์ได้ง่าย และมีการคัดพันธุ์ได้สายพันธุ์ใหม่ๆในประเทศไทย หลายพันธ์ เช่น ออสการ์ทอง ออสการ์ทองเผือก ออสการ์เป็นปลาที่ดุร้าย ไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นที่มีขนาดเล็ก โดยปกติแล้วจะเลี้ยงแยกชนิดเดียว
ปลาเทวดา
ปลาเทวดา(Angelfish) เคยดำรงตำแหน่งเจ้าแห่งปลาสวยงามก่อนที่ปลาปอมปาดัวร์ จะเป้นที่รู้จักใน พ.ศ. 2576 เมื่อปลาเทวดาเสียตำแหน่งให้แก่ปลาปอมปาดัวร์ ปลาเทวดาเป็นปลาที่อยู่ในครอบครัว ซิคลิด เช่นเดียวกับปลาปอมปาดัวร์ ปลาหมอสี และปลาออสการ์ ปัจจุบันปลาเทวดา ก็ยังเป็นที่นิยมเลี้ยงกันอยู่มาก ปลาชนิดนี้อยู่ในสกุลพเทอโรฟิลลัม (Pterophyllum) ซึ่งประกอบด้วยปลาที่มีรูปร่างแบนเหมือนจาน แต่ที่ต่างจากปอมปาดัวร์คือ ครีบหลังและครีบก้น ของปลาเทวดาจะแผ่ยาวออกมา และครีบท้อง จะยาวมาก ปลาเทวดาที่เลี้ยงเป็นปลาสว งามในปัจจุบันเป็นสายพันธุ์ที่พัฒนาคัดพันธุ์มานานหลาย 10 ปี ส่วนใหญ่จึงเป็นลูกผสมที่มีลักษณะของปลาเทวดามากกว่า 1 ชนิด การจัดแบ่งสายพันธุ์ปลาเทวดาที่เลี้ยงกันอยู่ ในปัจจุบัน จัดแบ่งเป็นประเภทตามลักษณะ ครีบ และตามลักษณะสี ถ้าดูจากลักษณะ ถ้าแบ่งตามลักษณะสีจะมีหลายชนิดมาก สี พื้นฐานคือ สีดำ สีเงินหรือเผือก สีที่ชัดเจนของปลาเทวดานอกจากสีเงินก็มีสีอื่นๆ เช่น สีทอง หินอ่อน หินอ่อนทอง ม้าลาย ควันไฟและดำปลาลูกผสมอื่นๆจะมาจากลักษณะเหล่านี้ ปลาเทวดามีถิ่นกำเนิดอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำอะเมซอน ปลาเทวดามีส่วนสูงและ ส่วนยาวของลำตัวเกือบเท่าๆกัน ปลาเทวดา มี 2 ชนิด ชนิดแรก คือ ปลาเทวดาแอลทัม (Altum Angelfish) ส่วนมากได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ ลักษณะเด่นอยู่ที่จะงอยปากซึ่งเล็กแหลมและหยัก ส่วนลักษณะของลวดลายก็เหมือนกับสายพันธุ์ อื่น ชนิดที่ 2 ปลาเทวดาสแกแลร์ (Common Angelfish)เป็นปลาที่เลี้ยง่าย และมีการพัฒนาสายพันธุ์ออกเป็นหลายสายพันธุ์ ทั้ง กลุ่มปลาครีบสัน และครีบยาว กลุ่มปลาเทวดาครีบสันที่เลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ เทวดาม้าลาย เทวดาทองมุก เทวดาหน้า เหลืองแก้มแดง เทวดาหินอ่อน และเทวดาหินอ่อนมุก ส่วนกลุ่มปลาเทวดาครีบยาว ได้แก่ เทวดาดำหางยาว เทวดาฮาล์ฟแบล็ก หางยาว เทวดาม้าลายหางยาว เทวดามุก แก้มแดงหางยาว และเทวดาทองแก้มแดงหางยาว
No comments