ชนิดของอาหารปลาสวาย - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

ชนิดของอาหารปลาสวาย

บทความ > การเลี้ยงปลาน้ำจืด > ปลาสวาย
ชนิดของอาหารปลาสวาย
1. อาหารธรรมชาติที่มีอยู่ในบ่อ ซึ่งได้แก่ พวกพืชและสัตว์เล็กๆ ที่อยู่ในน้ำ เช่น ตะไคร่น้ำ แหน ตัวอ่อนของแมลง ตัวแมลงเล็กๆ ลูกหอย ฯลฯ
2. อาหารสมทบที่ควรให้เพิ่มเติม เนื่องจากอาหารธรรมชาติซึ่งมีอยู่ในบ่อไม่เพียงพอกับจำนวนปลาที่เลี้ยง และปลาก็เจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ
อัตราการกินอาหารแต่ละตัวก็เพิ่มขึ้น ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องให้อาหารสมทบเพิ่มเติมเพื่อการเร่งให้ปลามีอัตราการเจริญเติบโตเร็วขึ้น อาหารสมทบได้แก่
-พวกพืชผัก แหน ได้แก่ ผักบุ้ง ผักกาด และเศษผัก ใช้โปรยให้กินสดๆ ไม่ควรต้มให้สุก
-ใบแค สับให้ละเอียด แล้วโปรยให้กินสดๆ
-รำ ใช้คลุกปนกับข้าวที่เย็นแล้วหรือจะปนกับผักและปลาป่นก็ได้ คลุกเคล้าให้เข้ากันดีและปั้นเป็นก้อนแล้วโยนให้กิน
-กากถั่วเหลือง ทำให้ละเอียดผสมกับรำโปรยให้กินดิบๆ
-กากมะพร้าว โปรยให้กินดิบๆ หรือจะคั่วเก็บไว้ใช้ยามอาหารขาดแคลน
-เศษเนื้อสัตว์ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วโยนให้กินดิบๆ
-ปลาต่างๆ หากเป็นปลาใหญ่ แกะเนื้อปลาสับเป็นชิ้นเล็กๆ หากเป็นปลาเล็กเช่นปลาสร้อย ปลาแปบปลาซิวก็ให้ทั้งตัว หากปลาสวายยังตัวเล็กๆ หรือช่วงที่เริ่มปล่อยลงเลี้ยง อาหารพวกเนื้อปลา เราควรสับหรือบดให้ละเอียดเสียก่อน

พวกอาหารสมทบไม่ควรนำไปต้มหรือทำให้สุก เพราะการต้มหรือทำให้สุกเป็นการทำลายคุณค่าทางอาหารให้ลดน้อยลง

วิธีการให้อาหาร
การให้อาหารปลาสวายควรให้เป็นเวลาเพื่อปลาจะได้เคยชินและเชื่องเร็ว ควรให้อาหารวันละ 2 ครั้งในเวลาเช้าและเวลาเย็น อาหารที่ให้
แต่ละมื้อต้องเพียงพอ ควรสังเกตอาการฮุบของปลา หากโยนอาหารไปตอนหลังๆพบว่าปลาไม่โผล่ขึ้นมาฮุบ ก็แสดงว่าปลาอิ่มแล้วไม่ต้องให้อาหาร การให้อาหารปลาสวายต้องให้ปริมาณมากขึ้นตามลำดับ เพราะปลาต่างก็เติบโตขึ้นเรื่อยๆและต้องการปริมาณอาหารมากขึ้น ยิ่งในระยะเวลาที่ใกล้จะจำหน่าย อาหารให้กับปลาเราควรปนอาหารประเภทเนื้อสัตว์ข้าวสุกจะช่วยทำให้ปลาสวายอ้วนและมีน้ำหนักดีกว่า ให้อาหารจำพวกผักอย่างเดียว
การเจริญเติบโต
ปลาสวายที่เลี้ยงในบ่อและในกระชังประมาณ 1 ปี จะได้ปลาที่มีน้ำหนักตัวละ 1.3 กิโลกรัม หากเราเลี้ยงนาน 3 ปี อาจจะได้ปลาสวาย ขนาดความยาว 3 ฟุต น้ำหนักประมาณ 10 กิโลกรัม
การจับและการลำเลียง
การจับปลาสวายที่เลี้ยงเพื่อใช้ประกอบอาหารหรือจับเพื่อจำหน่าย การใช้เครื่องมือจับปลาต้องระวังให้มาก เพราะปลาสวายเป็นปลาที่ตกใจง่าย หากตกใจจะไม่ยอมกินอาหารไปหลายวัน ฉะนั้นในการจับปลาด้วยสวิงหรือแห ปลาที่ติดเครื่องมือแล้วไม่ควรปล่อยลงไปปนกับปลาอื่นที่เลี้ยง เพราะปลาที่ถูกจับขึ้นมาจะตื่นตกใจ หากปล่อยลงเลี้ยงปลาจะไม่กินอาหาร และทำให้ตัวอื่นตกใจไปด้วย และในการจับปลาจำหน่ายก็ควรจำหน่ายในจำนวนที่มากๆไม่ควรจำหน่ายครั้งละเล็กน้อยเพราะ
ปลาที่ถูกจับครั้งหลังมักไม่ค่อยกินอาหาร ทำให้น้ำหนักตัวลด

การจับปลาจำนวนมากๆ ควรใช้อวนหรือเฝือกล้อมสกัด ควรแบ่งตอนของบ่อที่เลี้ยงให้พอเหมาะเพื่อป้องกันมิให้ปลาในบริเวณซึ่งเหลืออยู่ มีอาการตื่นตกใจ

ในการลำเลียงขนส่งปลาสวาย หากลำเลียงทางน้ำจะได้ผลดีกว่าทางบก เพราะการขนส่งทางบกจะทำให้การถ่ายเทน้ำจากภาชนะไม่สะดวก ปลาสวายเป็นปลาที่มีเมือกมาก ทำให้น้ำที่หล่อเลี้ยงเกิดเมือกมีกลิ่นคาวจัด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ปลาตายเร็ว ดังนั้นจะต้องทำการถ่ายเทน้ำออกบ่อยๆ แต่การลำเลียงขนส่งทางน้ำโดยใช้เรือจะทำการถ่ายเทน้ำได้สะดวก และอัตราการรอดตายจึงมีมากกว่า
สำหรับผู้ที่เลี้ยงปลาในกระชัง กรณีผู้เลี้ยงสามารถลำเลียงปลาสวายด้วยกระชังออกสู่ตลาดได้เลย โดยปล่อยกระชังล่องลอยมาตามกระแสน้ำ ปลาจะไม่มีอาการบอบช้ำ แต่ไม่ควรใช้เรื่อยนต์ลากจูง เพราะจะทำให้น้ำในกระชังปั่นป่วน ปลาจะว่ายเลาะข้างกระชัง ทำให้ปากแผลและนัยน์ตาจะบอด ทำให้ปลาอ่อนแอ มีโอกาสตายสูงที่สำคัญคือ ปลาในลักษณะนี้ราคาจะได้มักไม่คุ้มทุน


No comments
Back to content